Sunday, September 8, 2013

เมื่อไหร่จะต้องเปลี่ยนยางรถยนต์

  หลายๆท่านคงมีรถใช้ครับแต่ว่ายังไม่ค่อยรู้ว่าเราจะต้องบำรุงรักษารถเราอย่างไรบ้างบางท่านใช้บริการของศุนย์บริการก็เป็นสิ่งที่สดวกสบายดีครับแต่ว่าราคาก็ค่อนข้างแพง กว่าอู่ข้างนอก แต่ก็ได้มาซึ่งความมั่นใจของรถ แต่ก็อย่าไว้ใจครับเพราะไม่ใช่ศูนย์บริการจะซ่อมบำรุงได้ถูกหมดเราต้องมีความรู้บ้างครับวันนี้ผมจะมาแนะนำการดูแลรักษาในส่วนยางรถว่าเมื่อไหรเราจะต้องเปลี่ยนยางรถครับ จะเปลี่ยนยางเมื่อ
1.เมื่อยางสึก    คุณสามารถสังเกตุเห็นสะพานยาง ซึ่่งอยู่ในร่องดอกยางสะพานยางเป็นสันยางเล็กๆ ที่ถูกยกขึ้นมาจากฐานของร่องดอกยางถ้าดอกยางสึกถึงสะพานยาง (เหลือความลึกดอกยางประมาณ 1.6 มม) ให้คุณเปลี่ยนยางเส้นใหม่โดยทันที หากคุณยังคงใช้ยางเส้นดังกล่าวต่อไป อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะการขับขี่รถยนต์บนพื้นถนนที่เปียกลื่น จะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัวบนท้องถนน
2.เมื่อยางเสื่อมสภาพ
เราไม่สามารถประมาณการอายุการใช้งานของยางแต่ละเส้นได้ เนื่องจากอายุการใช้งานของยาง
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ให้คุณหมั่นตรวจสอบสภาพภายนอกของยางรวมถึงการสูญเสียหรือรั่วซึมของลมยาง และสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่น การสั่นสะเทือนของยาง ยางมีเสียงดัง ยางดึงซ้าย-ขวา เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าถึงเวลาที่ท่านจะต้องเปลี่ยนยางใหม่แล้ว
นอกจากนี้ ขอแนะนำให้คุณจัดให้ช่างผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบสภาพยางรถยนต์ทุกเส้นของคุณอย่างสม่ำเสมอ (รวมถึงยางอะไหล่ ยางรถลาก และยางรถพ่วงด้วย) เพื่อประเมินผลว่ายางรถยนต์ของคุณมีความเหมาะสมที่จะใช้งานต่อไปหรือไม่ 
หากคุณได้ใช้ยางดังกล่าวมากว่า 5 ปีนับจากวันผลิตแล้ว คุณควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบสภาพยางดังกล่าวเป็นประจำทุกปี และในกรณีที่ต้องเปลี่ยนยางใหม่ ให้คุณปฏิบัติตามหนังสือคู่มือประจำรถจากผู้ผลิตรถยนต์ หรือคำแนะนำของผู้ผลิตรถยนต์เกี่ยวกับการเปลี่ยนชิ้นส่วนของรถยนต์อย่างเคร่งครัด
และในกรณีที่คุณได้ใช้ยางดังกล่าวมากว่า 10 ปีนับจากวันผลิตแล้ว คุณจะต้องเปลี่ยนยางใหม่
ในทันที แม้จะปรากฏว่ายางดังกล่าวยังคงมีสภาพดีและไม่สึกถึงสัญลักษณ์บอกระดับความลึกของร่องดอกยางก็ตาม
                                       
3.เมื่อยางได้รับความเสียหาย
หมายเหตุ
การตรวจสอบสภาพยางจะต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับยางอาจไม่สามารถมองเห็นประจักษ์ได้จากภายนอกในขณะที่ยางประกอบอยู่กับกระทะล้อรถยนต์ยางที่ได้รับความเสียหายจากเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ไม่สามารถซ่อมแซมได้

1.การถูกบาดตำบริเวณแก้มยาง
2.เส้นลวดบริเวณขอบยางแทงทะลุออกมาด้านนอกหรือบิดเบี้ยวเสียรูป
3.เนื้อยางหรือเส้นใยโครงสร้างยางแยกตัวออกจากกัน 
4.เกิดรอยยับ/พับที่เนื้อยางหรือเส้นใยโครงสร้างยาง 
5.ยางได้รับความเสียหายจากสารไฮโดรคาร์บอน หรือจากการกัดกร่อนของสารเคมีหรือสารอื่นใด
6.เนื้อยางภายในท้องยางได้รับการเสียดสีหรือสึกหรอ เนื่องจากการใช้ความดันลมยางที่อ่อนเกินไปหรือไม่